วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๐ การจัดเก็บสารสนเทศ

บทที่ 6
๐ การจัดเก็บสารสนเทศ
- คำนิยามของการจัดเก็บสารสนเทศ
- ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
                สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่างๆนักเรียนอาจรวบรวมรายชื่อเพื่อน และเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเพื่อนของนักเรียนแล้วนำมาสรุปตามที่ต้องการ การจัดการสารสนเทศจึงรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมีหลายขั้นตอนดังนี้

             1. การเก็บรวบรวมข้อมูล สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้าน นักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับการไปสำรวจ ข้อมูล เพื่อให้ครอบครัวต่างๆ ในหมู่บ้านกรอกข้อมูล มีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูล เพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่าง เช่น การใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่งที่กรอกข้อมูล

             2. การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้อและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย

             3. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

             4. การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
             5. การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

             6. การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ

             7. การจัดเก็บ ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม

             8. การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว

                 9. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูล บางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง



                หลักการสื่อสารมีปัจจัยพื้นฐานอยู่ 4 ประการ ตามหลักทฤษฎี “SMCR” 
ของ เดวิด เค. เบอร์โล (
David K.Berlo) ซึ่งหมายถึง
 

S (Source)             คือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสาร 
M (Message)         คือสาร หรือข้อมูลข่าวสาร (Information) 
C (Channel)          คือช่องทาง หรือสื่อ (Media) 
R (Receiver)         คือผู้รับสาร

                ความน่าสนใจของสาร (Message) ที่ส่งถึง จะเป็นเสมือนการถอดรหัสและเข้ารหัส
(
Encoding & Decoding) ของผู้รับและผู้ส่ง (Source & Receiver) ให้สามารถเข้าถึงสิ่งที่เราสือให้ถึงผู้รับ

กิจกรรม
   ให้นักเรียน เรียนรู้แบบบทบาทสมมติเล่นเป็นหน้าที่ต่างๆโดยอางอิงจากหลักการดังกล่าว โดยฟังคำสั่งจากครูผู้สอนในคาบเรียน (แต่ละห้องเรียนอาจไม่เหมือนกัน)

แบบฝึกหัด
1. จงให้คำนิยามคำว่า การจัดเก็บสารสนเทศ และ ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ
2. ยกตัวอย่างหลักการ SMCR อย่างง่าย สั้นๆได้ใจความ มา1ตัวอย่าง


วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๐ ข้อมูล สารสนเทศและการประมวลผล

บทที่ 5
๐ ข้อมูล สารสนเทศและการประมวลผล
- กระบวนงาน ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล


คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการนำคำว่า เทคโนโลยี และ
สารสนเทศมารวมกันจะ ได้ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยี (Technology) 
หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น


สารสนเทศ (Information) 
หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา แล้ว คือผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่์์์์ี่ เกี่ยวข้องได้

เมื่อนำคำว่า "เทคโนโลยี" และ "สารสนเทศ"มารวมกัน 
เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ


โครงสร้างข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๐ การประมวลผลข้อมูล

บทที่ 4 
๐ การประมวลผลข้อมูล 
- การประมวลผลข้อมูลในชีวิตประจำวัน 
- การประมวลผล, ระบบสาระสนเทศ

ข้อมูล(Data) ---> ประมวลผล(Processing) ---> สารสนเทศ(Information)
สิ่งที่ได้ คือ
 ความรู้(Knowledge) และ ความเข้าใจ (Know-How)


ข้อมูล (Data)
     หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาต่างๆ ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน

การประมวลผลข้อมูล(Processing
    หมายถึงการนำข้อมูลมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศนั้น มีขั้นตอนในการทำงานหลายขั้นตอนประกอบกัน เช่น การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะข้อมูลออกเป็นกลุ่ม การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การคำนวณหาค่าต่าง ๆ การจัดลำดับ และการรายงานผล เช่น การจัดทำสมุดรายงานของนักเรียนมีขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล วิชาที่สอบ คะแนนที่ได้ในแต่ละวิชา ตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบต่าง ๆ ว่าตรงกับใบบันทึกคะแนนหรือไหมคำนวณหาคะแนนรวมทุกวิชาจัดลำดับที่ของนักเรียนบันทึกในสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน

สารสนเทศ (Information)
   หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการ การประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
ความรู้ หรือองค์ความรู้ (Knowledge)ความรู้มีความหมายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
ความรู้ หมายถึง เนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็นความคิด ทฤษฎี หลักการและรูปแบบ (หรือกรอบความคิดอื่น ๆ ) หรือข้อมูลอื่น ๆ ก็มีความจำเป็น เช่น ความรู้ด้านเคมี ด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ความรู้ หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กล่าวอ้างถึงข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือเกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติมาพูดถึงด้วยความเชื่อถือ หรือความศรัทธา

กิจกรรม
ให้นักเรียนหาข้อมูลของเพื่อน จำนวน 5 คน และนำมาทำเป็นสารสนเทศ นำเสนอครู

สร้างตารางสอบถามข้อมูลดังนี้
  1. ชื่อ นามสกุล
  2. ความถนัด (ความสามารถพิเศษ)
  3. อายุ
  4. ที่อยู่
  5. เงินค่าขนม (วันละ)

ตัวอย่างตาราง
ชื่อ นามสกุล
ความถนัด
อายุ
ที่อยู่
เงินค่าขนม
Emerald Warden
ล่าสัตว์
101
ป่า Legion
562
Ravenor
ซ่อมไฟ
360
ภูเขา Hellbourne
550

เมื่อหาข้อมูลได้แล้วจงหาคำตอบต่อไปนี้
  1. หาค่าเฉลี่ยค่าขนมของเพื่อนว่าเท่าไหร่
  2. ใครอยู่ใกล้จากโรงเรียนมากที่สุด
  3. ชื่อของใครมีตัวอักษรมากที่สุด
  4. เพื่อนในกลุ่ม5คนใครมีความสามารถด้านกีฬา


อาทิตย์นี้ไม่มีการบ้านดีใจวู้วววว วูววว

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๐ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร

บทที่ 3 
การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร
 - ประเภทของคอมพิวเตอร์

*คำแนะนำ

                      ย่อตามหรือย่อใหม่ตามความเข้าใจของผู้เรียนเอง
                      ออกสอบ
                      อ่านอย่างเดียว

--------------------------------------------------------------------- t(-_-t) --------------------------

ให้นักเรียนชมคลิปประกอบการเรียน



หากยังไม่เข้าใจมีให้ชมอีก 1 คลิป


นั้นมัน!!! คลิปหนีบกระดาษ
ชมคลิปจริงๆกันดีกว่าครับ


ประโยนช์ของคอมพิวเตอร์ (สสวท.)


     คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ จะพบว่ามีหลายประเภทหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ แต่ถ้าต้องการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตามการสร้างแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 

     • ดิจิตอล (Digital Computer) 
     • อนาลอก (Analog Computer) 
     • ผสม (Hybrid Computer) 
   สำหรับการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น มักจะดูจากลักษณะการทำงานมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งอาจจะดูจากประเภทของข้อมูลที่รับเข้ามาประมวลผลว่าเป็นข้อมูลชนิดใด นอกจากนั้นยังดูถึงการเก็บข้อมูล การแสดงข้อมูล และการนำไปประยุกต์ใช้งานอีกด้วย สำหรับการทำงานและข้อแตกต่างของคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภท มีดังนี้

ดิจิตอล (Digital Computer)

   1.คอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอล (Digital computer) คอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอลเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน 2 คือ มีเลข 0 กับเลข 1 การประมวลผลจะทำงานต่อเนื่องกันไป และมีการเก็บข้อมูลไว้ให้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับงานที่นำไปใช้ด้วย เช่น ใช้ในการจองสายการบิน การควบคุมการยิงขีปนาวุธ การพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น



Digital Computer

อนาลอก (Analog Computer)

   2. คอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอก (Analog Computer) คอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอกเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยการรับข้อมูลแบบวัดจำนวนที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งจะนำข้อมูลที่วัดได้มาแปลงเป็นค่าตัวเลข เช่น การวัดอุณหภูมิของอากาศ การวัดแรงดันไฟฟ้า การวัดความดังของเสียงเครื่องยนต์ การวัดปริมาณอากาศที่เป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งผลจากการวัดที่ได้จะมีความละเอียดค่อนข้างมาก จึงเหมาะกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และทางด้านคณิตศาสตร์ เนื่องจากงานเหล่านี้จะต้องใช้ค่าตัวเลขที่ละเอียด มีจุดทศนิยมหลายตำแหน่ง



Analog Computer

ผสม (Hybrid Computer)

   3. คอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid Computer) คอมพิวเตอร์แบบผสม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำลักษณะการทำงานแบบดิจิตอลและแบบอนาลอกมาผสมกัน ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีการรับข้อมูลเข้าเครื่องหรือมีการแสดงผลข้อมูลออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์แบบนี้ยังมีความสามารถในด้านการคำนวณที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถทำงานตามโปรแกรมที่ซับซ้อนได้ สำหรับงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์แบบผสม หรือไฮบริดนั้น มักจะเป็นงานเฉพาะด้าน เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ การฝึกนักบิน ใช้ในการควบคุมการทำงานด้านอุตสาหกรรม หรืออาจจะใช้ในวงการแพทย์ เป็นต้น



Hybrid Computer

ขนาดของคอมพิวเตอร์

      การแบ่งคอมพิวเตอร์ออกตามขนาดนั้น ไม่ได้แบ่งว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่จะแบ่งจากขนาดของหน่วยความจำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับและแสดงข้อมูล ดังนั้นการที่จะเลือกคอมพิวเตอร์ขนาดใดมาใช้งานนั้น จะต้องคำนึ่งถึงงานด้วยว่า มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ต้องใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากหรือไม่ ถ้าเรามีการเลือกขนาดคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานแล้ว งานที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพสูงและได้ผลรวดเร็ว ถูกต้อง ขนาดของคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขนาดดังนี้ 

     1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด ซึ่งส่วนมากแล้วจะผลิตมาใช้กับงานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างแพงมาก ดังนั้นจึงมีใช้ไม่แพร่หลายมากนัก




Super computer

     2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Miainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร




Mainframe computer


     3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดรองลงมา มีขนาดหน่วยความจำน้อยกว่า 2 แบบแรก แต่ก็มีความรวดเร็วในการประมวลผลสูง Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกึ่งกลาง ระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและเมนเฟรม ( แต่คำนี้ไม่มีการใช้แล้ว) โดยทั่วไป minicomputer (มินิคอมพิวเตอร์) มักจะเป็นคอมพิวเตอร์เดี่ยว (ระบบคอมพิวเตอร์กับ เทอร์มินอลและอุปกรณ์อื่น) ขายให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สำหรับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจโดยทั่วไป และองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับการทำงานระดับแผนก ในช่วงใกล้ ๆนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ปรับเป็น "mid-range-server" (เครื่องแม่ข่ายขนาดกลาง) และส่วนเป็นของเครือข่าย เช่น IBM AS / 400 e




Mini Computer

     4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ก็มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา าคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวก บางรุ่นมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้วหรือที่เรียกว่า Note Book สามารถพกพาได้ สำหรับงานที่จะใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนมากแล้วจะเป็นงานไม่ใหญ่มาก เช่น งานในสำนักงานทั่วไป งานเก็บข้อมูลต่าง ๆ ปัจจุบันนี้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาออกแบบหลายแบบหลายรุ่น เพื่อให้ผู้ใช้เลือกซื้อได้และมีการพัฒนารุ่นต่าง ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา


Micro Computer



-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

แบบฝึกหัด 
1. ให้นักเรียนอธิบายประเภทของคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทให้ถูกต้อง 
2. เรียงลำดับขนาดของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง (ใหญ่มาเล็ก)

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

๐ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน

มาตรฐานการเรียนรู้
                ง 3.1  เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร  การแก้ปัญหา  การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

สาระการเรียนรู้
                ความรู้
                - ทราบพัฒนาการระบบสารสนเทศ
                - มีความรู้เกี่ยวกับรวมถึงประโยชน์ของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
                - ทราบหลักและวิธีการเรียนรู้องค์ประกอบคอมพิวเตอร์อย่างเข้าใจ
                - มีหลักการในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ/กระบวนการ
-  ให้นักเรียนมีอิสระทางความคิดในด้านวิชาการโดยการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
มีความคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
สามารถใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าใจแนวคิดหลักการออกแบบโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูล
สามารถนำความรู้ด้านซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม



บทที่ 2

๐ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน   
-
การพัฒนาด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ 


     คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และทางด้านซอฟต์แวร์ เพื่อให้ทันสมัยและรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นได้มีวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปี 1981 – ปัจจุบัน


วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค
ยุคที่ 1 มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) 

         ในปี พ.ศ. 2439 เฮอร์แมน ฮอลเลอริช (Herman Hollorith)ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ โดยใช้ชื่อบริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอร์ดดิง (Computing Tabulating Recording : CTR) หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2467 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine : IBM) บริษัทไอบีเอ็มนี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ของโลก

          ในปี พ.ศ. 2487 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่องคำนวณที่สามารถคำนวณจำนวนที่มีค่า ต่างๆ ได้ โดยหัวหน้าโครงการคือ ศาสตราจารย์โฮวาร์ด ไอเกน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และให้ชื่อเครื่องคำนวณนี้ว่า มาร์กวัน (Mark I)


ยุคที่ 2 ทรานซิสเตอร์ (Transistor) หรือ หลอดสูญญากาศ



     ยุคนี้เริ่มในปี ค.ศ. 1957 หรือประมาณปี พ.ศ. 2502-2507 ในยุคนี้ได้มีการริเริ่มนำเอาทรานซิสเตอร์ (Transistor) และไดโอด (Diodes) มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก มีราคาถูกลงและทำงานได้เร็วขึ้น ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเล็กลงตามไปด้วย ในการทำงานจะใช้วงแหวนแม่เหล็ก สำหรับเก็บข้อมูลและใช้เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มอุปกรณ์ ในการรับข้อมูล และอุปกรณ์ในการแสดงผลลัพธ์อีกมากมาย มีการใช้เครื่องพิมพ์ จานแม่เหล็ก บัตรเจาะรู จอภาพ และแป้นพิมพ์เป็นเครื่องปลายทาง ในยุคนี้ได้เปลี่ยนจากการสั่งงานด้วยภาษาเครื่องเป็น การใช้สัญลักษณ์แทนจึงทำให้การสั่งงานง่ายขึ้นและมีภาษาระดับสูงบางภาษาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน


ยุคที่ 3 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)


     

     คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)


ยุคที่ 4 ไมโครโพรเซสเซอร์ RISC (Reduced Instruction Set Computer) 
     ในทศวรรษ 1970 เมื่อวงจรเบ็ดเสร็จเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นปัญหาก็เกิดตามมาวงจรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนี้ราคาการออกแบบย่อมสูง ขึ้นด้วยแต่ใช้กับงานเฉพาะอย่างตลาดจึงแคบลงสิ่งที่ต้องการก็คือวงจรเดี่ยวที่สามารถทำงานต่างๆ ได้หลายรูปแบบคำตอบคือไมโคร โพรเซสเซอร์เพราะมันเป็นวงจรที่อ่านและทำงานตามรหัสคำสั่งผู้ใช้สามารถใช้ชิปตัวเดียวทำงานได้หลายอย่างโดยการเก็บรายการ คำสั่งก็คือโปรแกรมมาไว้ในหน่วยความจำอิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโพรเซสเซอร์เป็น "สมอง" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของชิปเดี่ยว มันใช้ตรรกะในการถอดรหัสคำสั่งและจัดการกับข้อมูลได้ตามสั่งผลลัพธ์จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือส่งไปยังสิ่งดิษฐ์อื่นเช่นจอ ภาพหรือเครื่องพิมพ์แม้จะเปลี่ยนแบบพลิกโฉมมาแล้วก็ตาม ตอนที่เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 1971 นั้นไมโครโพรเซสเซอร์เครื่องแรกยังทำ งานช้าการเข้าถึงหน่วยความจำยังจำกัดรวมทั้งจัดการควบคุม"คำ words"ที่เกิดขึ้นจากเลขโดดฐาน 2 ได้ 4 ตัวเท่านั้นการประมวล ผล processor สมัยใหม่สามารถจัดการกับคำที่มี 32 บิตและเข้าถึงหน่วยความจำได้ในขนาดเป็นเมกะไบต์และทำคำสั่งเสร็จสมบูรณ์ ภายในเวลาประมาณหนึ่งในสิบล้านของวินาที"การประมวลผลแบบสัญญาณเชิงตัวเลข"ก็ยิ่งทำงานเร็วกว่านี้จึงใช้สำหรับงานพิเศษ เฉพาะเช่นการส่งภาพไปทางสายโทรศัพท์


ยุคที่ 5 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)



ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ (Laudon & Laudon , 2001)

แบบฝึกหัด
1. ให้นักเรียนหา AI มา1 ชนิด พร้อมยกตัวอย่างและหาความหมายของคำว่า AI



ตัวอย่าง ลักษณะของ AI