วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

๐ Network and Topology

Network ประเภทของเครือข่าย




    •Lan   = ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (บ้าน อาคาร)
    •Man  = ระบบเครือข่ายระดับเมือง-จังหวัด (ในตัวเมืองถึงจังหวัด)
    •Wan  = ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณ (ทั่วโลก)
    •Pan   = ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล

ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ฃที่รู้จักกันดีมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (LOCAL AREA NETWORK: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน (มีขนาดเล็กที่สุด)
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (METROPOLITAN AREA NETWORK : MAN)
    ใช้ได้ในเขต เมือง ถึง จังหวัด ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (WIDE AREA NETWORK: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร (มีขนาดใหญ่ที่สุด)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (PERSONAL AREA NETWORK) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้


Network Topologyการเชื่อมต่อเครือข่ายโทโปโลยี
   รูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology.) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกัน เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพที่เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย (network topology) โดยทั่วไปรูปร่างเครือข่าย สามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ 4 รูปแบบ
เครดิต ; apichat52.wordpress.com

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) 

   โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ 


Bus Topology

ลักษณะการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง 

ข้อดี

1.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
2.มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
3.ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ 


ข้อเสีย
1.การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
2.ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology) 


   โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology) นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รวมศูนย์ที่เรียกว่า “ ฮับ” โดยการเชื่อมต่อแบบดวงดาวคือ เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดจะส่งข้อมูลก็จะส่งไปที่ฮับก่อน แล้วฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องที่เชื่อมเข้ากับฮับ 


star

ข้อดี
1. ง่ายในการให้บริการ
2. อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่ง 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ในระบบไม่มีผลกระทบต่อการทำงานในจุดอื่นๆ
3. ตรวจหาข้อผิดพลาดได้ง่าย



ข้อเสีย
1. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก
2. ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดการเสียหาย จะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถจะทำงานได้
 


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) 

   โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่ม

ring


ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
3. ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ


ข้อเสีย
1. ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้
2. ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โทโปโลยีแบบเมซ (Mesh Topology
   โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น (Ring+Star)

mesh


ข้อดี
1. การเชื่อมต่อแบบเมซที่สมบูรณ์ 


ข้อเสีย
1. การเชื่อมต่อหลายจุด จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น
2. จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญเท่านั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น