บทที่ 6
๐ การจัดเก็บสารสนเทศ
- คำนิยามของการจัดเก็บสารสนเทศ
- ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ
๐ การจัดเก็บสารสนเทศ
- คำนิยามของการจัดเก็บสารสนเทศ
- ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ
สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่างๆนักเรียนอาจรวบรวมรายชื่อเพื่อน และเก็บข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับเพื่อนของนักเรียนแล้วนำมาสรุปตามที่ต้องการ
การจัดการสารสนเทศจึงรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมีหลายขั้นตอนดังนี้
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้าน
นักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับการไปสำรวจ ข้อมูล
เพื่อให้ครอบครัวต่างๆ ในหมู่บ้านกรอกข้อมูล มีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูล
เพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่าง เช่น
การใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่งที่กรอกข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้อและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว
สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
3. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น
เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง
จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล
เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
4. การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล
เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
5. การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร
ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น
หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
6. การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน
จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น
เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
7. การจัดเก็บ ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา
และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง
การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
8. การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้
การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
9. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย
เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น
ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ
บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูล
บางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง
หลักการสื่อสารมีปัจจัยพื้นฐานอยู่
4 ประการ ตามหลักทฤษฎี “SMCR”
ของ เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ซึ่งหมายถึง
ของ เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ซึ่งหมายถึง
S (Source) คือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสาร
M (Message) คือสาร หรือข้อมูลข่าวสาร (Information)
C (Channel) คือช่องทาง หรือสื่อ (Media)
R (Receiver) คือผู้รับสาร
ความน่าสนใจของสาร
(Message) ที่ส่งถึง
จะเป็นเสมือนการถอดรหัสและเข้ารหัส
(Encoding & Decoding) ของผู้รับและผู้ส่ง (Source & Receiver) ให้สามารถเข้าถึงสิ่งที่เราสือให้ถึงผู้รับ
(Encoding & Decoding) ของผู้รับและผู้ส่ง (Source & Receiver) ให้สามารถเข้าถึงสิ่งที่เราสือให้ถึงผู้รับ
กิจกรรม
ให้นักเรียน เรียนรู้แบบบทบาทสมมติเล่นเป็นหน้าที่ต่างๆโดยอางอิงจากหลักการดังกล่าว โดยฟังคำสั่งจากครูผู้สอนในคาบเรียน (แต่ละห้องเรียนอาจไม่เหมือนกัน)
แบบฝึกหัด
1. จงให้คำนิยามคำว่า การจัดเก็บสารสนเทศ และ ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ
2. ยกตัวอย่างหลักการ SMCR อย่างง่าย สั้นๆได้ใจความ มา1ตัวอย่าง
ให้นักเรียน เรียนรู้แบบบทบาทสมมติเล่นเป็นหน้าที่ต่างๆโดยอางอิงจากหลักการดังกล่าว โดยฟังคำสั่งจากครูผู้สอนในคาบเรียน (แต่ละห้องเรียนอาจไม่เหมือนกัน)
แบบฝึกหัด
1. จงให้คำนิยามคำว่า การจัดเก็บสารสนเทศ และ ประโยชน์ของการจัดเก็บสนเทศ
2. ยกตัวอย่างหลักการ SMCR อย่างง่าย สั้นๆได้ใจความ มา1ตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น